ReadyPlanet.com
dot
dot
dot
bullet1. บริการตรวจ-รับรองความปลอดภัย ระบบไฟฟ้า
bullet2. บริการตรวจ-รับรองความปลอดภัย ระบบไฟฟ้า ด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน (Thermo scan)
bullet3. บริการ-บำรุงรักษาระบบไฟฟ้า (PM ประจำปี)
bullet4. ตรวจ-รับรองความปลอดภัย อาคาร
bullet5. บริการการตรวจ รับรอง ออกแบบ ติดตั้ง ระบบล่อฟ้า (กันฟ้าผ่า)
bullet6. บริการออกแบบ ติดตั้ง วางระบบ Network Computer
bullet7. บริการออกแบบ ติดตั้ง วางระบบ กล้องวงจรปิด (CCTV)
bullet8. บริการออกแบบ ติดตั้ง วางระบบ Internet Condo, Apartment, Coffee shop
dot
dot
bulletสภาวิศวกร
bulletกรมโรงงานอุตสาหกรรม
bulletสมาคมส่งเสริมความปลอดภัย
dot
Newsletter

dot




บริการการตรวจ รับรอง ออกแบบ ติดตั้ง ระบบล่อฟ้า (กันฟ้าผ่า)

 

ระบบป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคาร (Building Lightning System Protection)

 

1 บทนำ

     ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่ง  ซึ่งจะผ่าที่ไหนเมื่อไหร่ไม่มีโอกาสรู้ล่วงหน้าได้เลย เมื่อเกิดฟ้าผ่ามักจะเกิดความเสียหายแก่สิ่งที่ถูกผ่า เช่น บ้านเรือนและสิ่งที่มีชีวิตที่อยู่ในบริเวณนั้น  จากการค้นพบของเบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ในปี 1706-1790 นั้น ทำให้มนุษย์สามารถที่จะเอาชนะธรรมชาติบางอย่างได้ แต่การเกิดฟ้าผ่าตามธรรมชาตินั้นเราไม่อาจที่จะห้ามได้  ดังนั้นการป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่านั้นสามารถทำได้ หากมีระบบสายล่อฟ้าที่ดีเพื่อล่อให้ฟ้าผ่าลงบนสายล่อฟ้าที่จัดทำไว้ หากมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นในบริเวณนั้นกระแสจำนวนมากจากฟ้าผ่าที่เกิดจากการคายประจุจากก้อนเมฆจึงวิ่งลงสู่พื้นโลกได้สะดวก และรวดเร็วไม่เกิดความเสียหาย

การป้องกันฟ้าผ่า การป้องกันฟ้าผ่านั้นในปัจจุบันนี้นิยมใช้กันอยู่สองวิธี คือ

- วิธีของกรงฟาราเดย์ (Faraday cage)

- วิธีการใช้สารกัมมันตภาพรังสี (Radio active)

 

2 การป้องกันฟ้าผ่าโดยใช้กรงฟาราเดย์ (Faraday cage)

     2.1 หลักล่อฟ้า (Air terminal) อาจจะเป็นเสาโลหะหรือสายตัวนำซึ่งยึดไว้บนยอดสูงสุดของสิ่งก่อสร้าง หรือบริเวณที่ต้องการป้องกัน หลักล่อฟ้านี้นิยมใช้แบบปลายแหลม เพื่อให้ความเข้มของสนามไฟฟ้า (Electric field stress) ที่จุดนั้นมีค่าสูงกว่าบริเวณที่อยู่ใกล้เคียง หลักล่อฟ้านี้มีหน้าที่ล่อให้ฟ้าผ่าลง หลักล่อฟ้ามีรูปร่างต่าง ๆ ดังรูปที่ 2

     2.2 จะติดตั้งหลักล่อฟ้าจำนวนกี่หลักในแต่ละอาคาร ตามมาตรฐานจะกำหนดว่าหลักล่อฟ้าหนึ่งต้นจะมีรัศมีป้องกันเป็นทรงกรวยเท่ากับ 45 องศา ทำมุมกับแกนของหลักล่อฟ้า  ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 รัศมีที่คุ้มครองของหลักล่อฟ้าตามมาตรฐาน

     แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากต้องการให้ระบบป้องกันฟ้าผ่ามีความมั่นใจสูง มุมที่ป้องกันได้จริงควรจะใช้มุม 30 องศา ดังนั้นในการติดตั้งหลักล่อฟ้าตามลักษณะส่วนบนของหลังคาตึก จำนวนหลักล่อฟ้าของแต่ละอาคารจะไม่เท่ากัน บางแห่งมีหลายหลัก ดังรูปที่ 4-5 แต่บางแห่ง

 

     ก็มีหลักล่อฟ้าเพียงจุดเดียวเท่านั้น  ถ้าหลักล่อฟ้านั้นมีความสูงมากพอที่จะมีรัศมีคุ้มครองอาคารนั้นได้ทั้งหมด สำหรับระยะห่างของหลักล่อฟ้านั้นขึ้นอยู่กับความสูงของหลักล่อฟ้า เนื่องจากการออกแบบทางสถาปนิกไม่นิยมให้เห็นหลักล่อฟ้าจึงมักใช้หลักล่อฟ้าที่มีความสูงเพียง 30-60 เซนติเมตร จึงต้องใช้หลักล่อฟ้าจำนวนมาก ดังนั้นระยะห่างของหลักล่อฟ้า x ในรูปที่ 4 และ 5 นั้นไม่ควรห่างกันเกิน 8 เมตร เพราะช่วงเสาของตึกจะอยู่ประมาณ 4 เมตร ใช้ระยะห่างของช่วงเสาสองช่อง 8 เมตร ก็จะทำให้คุ้มครอบได้หมดและสวยงาม

     2.3 การติดตั้งหลักล่อฟ้ากับอาคารที่มีหลังคาหลายระดับ การติดตั้งหลักล่อฟ้ากับหลังคาที่มีหลายระดับนั้น  บางคนเข้าใจผิดว่าอาคารที่ระดับต่ำลงมาไม่จำเป็นต้องมีการป้องกัน  ที่ถูกต้องแล้วนั้น  จะต้องทำการป้องกันด้วยเพียงแต่ใช้หลักล่อฟ้าให้ลดน้อยลงมาได้ในส่วนที่ติดกับอาคารที่มีระดับสูงกว่า  เพราะว่าหลักล่อฟ้าของอาคารที่มีระดังสูงกว่ามีรัศมีคุ้มครองเป็นมุม 45 องศาถึงระดับต่ำกว่า7

     2.4 การติดตั้งล่อฟ้าตามแนวราบ ในบางครั้งสถาปนิกไม่ต้องการให้มีหลักล่อฟ้าปรากฎให้เห็นบนตัวอาคารเลย เพราะจะทำให้ตึกหมดความสวยงาม ดังนั้นหลักล่อฟ้าอาจเปลี่ยนเป็น แบบสายตัวนำ วางตามแนวราบได้ โดยระยะห่างของสายล่อฟ้าตามแนวราบไม่ควรเกิน 10 เมตร

     2.5 ขนาดของหลักล่อฟ้าหรือสายล่อฟ้า

- ทองแดง, อะลูมิเนียม, ทองเหลือง, เหล็กกัลวาไนซ์           50 ตารางมิลลิเมตร

- ทองแดงเส้นแบน, เหล็กอาบสังกะสี                                    20x2.5 ตารางมิลลิเมตร

- อะลูมิเนียมแบน                                                                   20x4.0 ตารางมิลลิเมตร

     2.6 การจัดวางสายล่อฟ้ากับอาคารหลังคาทรงแหลม และหลังคาทรงราบ การวางหลักล่อฟ้าหรือสายล่อฟ้านั้น จะขึ้นอยู่กับลักษณะของอาคารและหลังคาว่าเป็นแบบใด การจัดวางเสาล่อฟ้าและสายล่อฟ้าตามแนวระนาบ  โดยจะต้องวางหลักล่อฟ้าและสายล่อฟ้าให้สามารถคุ้มครองพื้นที่ที่ต้องการป้องกันได้ทุกจุด  เมื่อเกิดฟ้าผ่าเกิดขึ้นจะต้องให้ฟ้าผ่าลงที่หลักล่อฟ้าหรือสายล่อฟ้าที่ติดตั้งไว้  เพื่อให้การป้องกันที่ทำไว้มีความสมบูรณ์แบบจะต้องไม่ให้จุดใดจุดหนึ่งบนหลังคาอยู่จากหลักล่อฟ้าหรือสายล่อฟ้าเกิน 10 เมตร

     2.7 สายตัวนำลงดิน (Down conductor) ปกติแล้วสายตัวนำลงดินที่ใช้จะใช้ลวดทองแดงตีเกลียวที่มีขนาดใหญ่พอที่จะนำประจุไฟฟ้าลงดินได้อย่างรวดเร็ว  สายตัวนำลงดินนี้จะต่อกับหลักล่อฟ้าหรือสายล่อฟ้าและมีจำนวนสายตัวนำลงดินมากพอ  สำหรับจำนวนสายตัวนำลงดิน ส่วนขนาดของสายตัวนำลงดินมักจะใช้สายไฟที่เป็นสายทองแดงเปลือยตีเกลียวขนาดพื้นที่หน้าตัดโตกว่า 50 ตารางมิลลิเมตร  การติดตั้งสายตัวนำลงดินสามารถติดตั้งได้ 3 แบบคือ

     - ร้อยท่อเดินภายในเสาโครงสร้าง

     - ร้อยท่อเดินตามด้านนอกของตัวอาคาร

     - ใช้โครงสร้างเป็นตัวนำลงดิน

     ก. การติดตั้งสายตัวนำลงดินโดยร้อยท่อเดินภายในเสาโครงสร้างวิธีนี้มีข้อดีคือ สวยงามแต่มีข้อเสียในการตรวจซ่อมและขณะก่อสร้างจะต้องมีการควบคุมกันอย่างใกล้ชิด

     ข. การติดตั้งสายตัวนำลงดินโดยเดินร้อยท่อตามด้านนอกของอาคาร วิธีการนี้มีข้อดีคือติดตั้งและทำการซ่อมได้สะดวก แต่มีข้อเสียคือทำให้อาคารไม่ค่อยสวยงาม การติดตั้งสายตัวนำลงดินนี้ก่อนร้อยท่อจะต้องทาจาระบีบนสายทองแดงเปลือยก่อนเพื่อป้องกันการเกิดออกไซด์ ถ้าไม่ร้อยท่อติดตั้งเปลือยก็ทำได้แต่สายไฟเปลือยเมื่อใช้ไปนานจะเกิดออกไซด์ ซึ่งจะทำให้เกิดความยุ่งยากต่อการซ่อมบำรุงภายหลัง

     ค. การติดตั้งสายตัวนำลงดินโดยใช้โครงสร้างเหล็กเป็นสายตัวนำลงดินวิธีนี้เราจะใช้โครงเหล็กของตัวอาคารเป็นสายตัวนำลงดิน ดังนั้นในการใช้สายตัวนำลงดินแบบนี้จะต้องมีการเชื่อมโครงเหล็กให้ต่อถึงกันจริง ๆ ซึ่งจะทำให้ราคาของการเชื่อมมีราคาสูงเพราะจะต้องมีการควบคุมขณะที่ก่อสร้างอย่างจริงจัง อีกอย่างการเชื่อมสายเข้ากับโครงสร้างเหล็กจะต้องเชื่อมด้วยวิธีเอกโซเทอร์มิก ( Exo  thermic  welding ) จึงจะได้ผลจริง 

     9.2.8 หลักสายดิน ( Earth electrode) หลักสายดินเราอาจใช้แท่งโลหะหรือแผ่นโลหะที่ไม่ผุกร่อนง่าย เช่นทองแดง เหล็กกัลวาไนซ์ ฝังลึกลงไปจนถึงชั้นของดินทีมีความชื้นเพื่อให้มีการจ่ายประจุลงดินได้อย่างรวดเร็ว จำนวนหลักของสายดินจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับค่าความต้านทานทางไฟฟ้าของระบบ กรณีที่ต้องการมากกว่า 1 ต้น ระยะห่างระหว่างต้นไม่ควรเกินกว่า 1.80  เมตร  เพื่อป้องกันการเกิดสเตปโวลต์เตจ ( Step  voltage ) ซึ่งเป็นอันตรายต่อบุคคลที่เดินอยู่ใกล้หลักสายดิน หลักสายดินนี้จะต้องตั้งให้ห่างจากระบบกราวด์จริงของตัวตึก ไม่เช่นนั้นเมื่อเกิดฟ้าผ่าจะทำให้เกิดมีแรงดันเพิ่มขึ้นแก่ระบบไฟฟ้าตามปกติได้

3 การป้องกันฟ้าผ่าโดยใช้สารกัมมันตภาพรังสี  ( Radio active)

     เนื่องจากวิธีการป้องกันฟ้าผ่าของกราฟฟาราเดย์นั้นมีข้อเสียคือ ไม่สวยงามเนื่องจากมีหลักล่อฟ้า สายล่อฟ้า และสายตัวนำลงดินเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีพื้นที่บางส่วนไม่อยู่ในรัศมีที่ป้องกันได้ จะต้องใช้หลักล่อฟ้าและหลักสายดินอย่างละ 16 หลัก แต่สามารถป้องกันพื้นที่ได้เพียง 1809 ตารางฟุตเท่านั้น  สำหรับด้านข้างตึกซึ่งมีพื้นที่ 90,000 ตารางฟุตนั้นไม่อยู่ในรัศมีของการป้องกันโดยวิธีกรงฟาราเดย์ อีกทั้งในการออกแบบตึกสถาปนิกผู้ออกแบบมักจะไม่ยอมให้อุปกรณ์ส่วนอื่นมาประกอบตัวตึกซึ่งจะมีผลทำให้อาคารหมดความสวยงาม ดังนั้นเพื่อแก้ข้อเสียของวิธีนี้การป้องกันตัวอาคารที่มีความพิถี พิถันเรื่องความสวยงามและความปลอดภัยจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีการป้องกันโดยใช้ สารกัมมันตภาพรังสี

     3.1 สารกัมมันภาพรังสีจะอยู่ส่วนใดของจาน ระบบป้องกันที่ใช้สารกัมมันตภาพรังสีนั้นจะมีรูปร่าง

ชุดล่อฟ้าที่มีชื่อทางการค้าว่าพรีเวนซ์เตอร์  ( Preventor ) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท  Bristish  Lightning  Preventor  Limited ปลายแหลมของตัวพรีเวนเตอร์ทำจากแท่งทองแดง  ตัวจานมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  23  เซ็นติเมตร  สูง  12  เซ็นติเมตร  หนัก  2  กิโลกรัมภายในจานเป็นฟอยล์ ( Foil ) บรรจุด้วยสารกัมมันตภาพรังสี เรเดียม  226 ( Radium  226 ) หรือ อเมริเซียม  241 ( Amerecium  24 ) ซึ่งผสมกับทองคำเชื่อมติดกับฟอยล์ ดังนั้นที่ตัวจานจะแผ่รังสีแอลฟ่า ( a  -  Aljpha )  เบต้า  ( b - Bata )  และแกรมม่า ( g - Grammar ) ซึ่งจะสร้างสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูงรอบแท่งทองแดง

     3.2 ขีดความสามารถของพรีเวนซ์เตอร์ที่มีขายในท้องตลาดพรีเวนซ์เตอร์หรือระบบล่อฟ้าที่มีขายในท้องตลาดทำจากสารกัมมันตภาพรังสีอเมริเซียน  241  มีทั้งหมด  สี่ขนาด  คือ

มีรัศมีป้องกันได้   35 เมตร ระยะต่ำสุดที่ติดตั้งได้   4.6   เมตร   คิดเป็นพื้นที่     3,850    2

2 "                         100    "                        "                4.5     "                   "           7,850    2

3 "                           60    "                        "                6.0     "                   "         20,100    2

4 "                         200    "                       "                 6.0     "                   "         31,400    2

ซึ่ง 4 นี้ทางบริษัทผู้ผลิตแนะนำให้ใช้กับอาคารที่มีความสูงเกิน   150   ฟุตขึ้นไป

     3.3 ชุดป้องกันฟ้าผ่าโดยใช้สารกัมมันตภาพรังสีพรีเวนซ์เตอร์ ประกอบด้วยอะไรบ้างและมีเขตป้องกันอย่างไร

ชุดป้องกันฟ้าผ่านี้จะประกอบไปด้วย

     ก. ตัวพรีเวนซ์เตอร์ ซึ่งตรงกับหมายเลขหนึ่งจะติดตั้งอยู่เหนือเสาอากาศโทรทัศน์หมายเลข  4

     ข. สายตัวนำลงดิน ซึ่งต่อจากตัวพรีเวนซ์เตอร์เดินผ่านหลังคาแล้วต่อลงกับหลักสายดิน

     สำหรับเขตป้องกันนั้นหมายเลข 5 จะแสดงเขตที่เป็นรูปวงกลมที่สามารถควบคุมบริเวณที่จะล่อให้ประจุจากก้อนเมฆผ่าลงมา ส่วนหมายเลข 6 เป็นรูปกรวยที่ตัวพรีเวนซ์เตอร์สามารถป้องกันบ้านและบริเวณข้างเคียงจากฟ้าผ่าได้ ซึ่งจะเห็นว่าอุปกรณ์ที่ป้องกันฟ้าผ่าโดยใช้สารกัมมันตภาพรังสีนี้ใช้อุปกรณ์น้อยมาก สำหรับการป้องกันอาคารจะมีอุปกรณ์ที่เป็นกล่องทดสอบ ( Test  box )  เข้ามาอีก

3.4 ข้อเสียของระบบป้องกันโดยใช้สารกัมมันตภาพรังสี  คือ

     - มีราคาแพง

      - สารกัมมันตภาพรังสีช่วงครึ่งชีวิต (Half  life ) เมื่อใช้ไปนาน ๆ จะเสื่อมประสิทธิภาพอาจจะลดลงได้

     - จะต้องมีการตรวจสอบระบบให้ดีอยู่เสมอเนื่องจากว่าใช้อุปกรณ์ป้องกันเป็นจำนวนน้อย หากจุดใดจุดหนึ่งเกิดบกพร่องระบบจะไม่สามารถป้องกันฟ้าผ่าได้เลย

 

 

 



ชื่อ
เบอร์โทรศัพท์
อีเมล
หัวข้อ
รายละเอียด




บริการการตรวจ รับรอง ออกแบบ ติดตั้ง ระบบล่อฟ้า (กันฟ้าผ่า)




Copyright © 2015 All Rights Reserved.

SYMPLEX BUSINESS CO.,LTD.
9 Soi Pongsawadi Sanam Bin Nam Rd.  Tha Sai Muang Nontaburi
Nonthaburi     11000
Tel :  02-9501799 Fax :  02-5883230 Cell. :  081-834-5019, 0847017887
E-mail : suthep@symplex.co.th
Website : WWW.Siaminspector.com
Website : WWW.symplex.co.th